กฎหมายทวงหนี้ (อัปเดตปี 2564) รวมเรื่องควรรู้สำหรับเจ้าหนี้-ลูกหนี้
เรื่องเงินๆ ทองๆ มักสร้างปัญหาวุ่นวายใจให้ใครหลายคน โดยเฉพาะเรื่องของการหยิบยืมเงิน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ก็ตาม หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดและตกลงผ่อนปรนกันไม่ได้ ก็จะเกิดการทวงหนี้ตามมานั่นเอง ซึ่งกฎระเบียบและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการทวงหนี้นั้น ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายทวงหนี้ ถือเป็นเรื่องที่ทั้งลูกหนี้-เจ้าหนี้ ควรรู้ไว้
กฎหมายทวงหนี้ใหม่ 2564 (อัปเดตล่าสุด) ต้องทวงหนี้อย่างไรจึงจะไม่ผิดกฎหมาย?
การทวงหนี้ ไม่ได้หมายถึงการทวงหนี้ระหว่างบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนี้อื่นๆ เช่น หนี้ธนาคาร หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนชำระรถยนต์ เงินกู้ ฯลฯ แม้กระทั่งการพนันก็ถือว่าเป็นหนี้รูปแบบหนึ่ง บ่อยครั้งที่เรามักเห็นข่าวการทวงหนี้ด้วยวิธีที่รุนแรงและไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่เราต้องการจะทวงหนี้ผู้อื่น และผู้อื่นจะมาทวงหนี้เรา จริงๆ แล้วจำเป็นต้องดำเนินไปตามหลักของกฎหมายทวงหนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย โดยมีรายละเอียดต่างๆ ที่ควรรู้ไว้ ดังนี้
1. ความหมายของ ลูกหนี้ และ ผู้ทวงถามหนี้
- ลูกหนี้ คือ ลูกหนี้ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย
- ผู้ทวงถามหนี้ คือ เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม
หมายเหตุ : ผู้ทวงถามหนี้ หรือเจ้าหนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นตัวแทนของนิติบุคคล ในนามของบริษัทสินเชื่อ, ประกัน, ธนาคาร และอื่นๆ ได้
2. ยืมเงินจำนวนเท่าไร จึงจะต้องทำหนังสือกู้ยืมเงิน?
ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป สามารถทำหนังสือสัญญากู้ยืมได้ โดยจะต้องมีการลงลายมือชื่อทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งหากผิดสัญญาชำระหนี้ ก็สามารถนำไปฟ้องร้องได้
3. ยืมเงินผ่านแชต ใช้เป็นหลักฐานฟ้องได้ไหม?
การทักขอยืมเงินผ่านแชต หรือแชตไลน์ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องได้ แม้จะไม่ได้มีการทำหนังสือกู้ยืมเงิน เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม
4. โทรศัพท์ไปทวงหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย ถือเป็นการทวงหนี้แล้วหรือยัง?
- หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย หรือกดวางสายก่อนจะมีการพูดคุย = ไม่นับเป็นการทวงหนี้
- หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ ลูกหนี้รับสาย แต่พูดคุยเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องการทวงหนี้ = ไม่นับเป็นการทวงหนี้
- หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท แต่ลูกหนี้ยังไม่เปิดอ่าน = ไม่นับเป็นการทวงหนี้
- หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท ลูกหนี้เปิดอ่านข้อความ แต่ไม่ตอบ = ถือเป็นการทวงหนี้แล้ว
5. ทวงหนี้ได้วันละกี่ครั้ง?
กฎหมายทวงหนี้ใหม่กำหนดให้เจ้าหนี้ สามารถทวงหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง หากฝ่าฝืนจะมีความผิด โดนโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แต่ในกรณีที่เพื่อนยืมเงินเพื่อน ทวงเกินวันละ 1 ครั้ง ถือว่าไม่ผิด
6. เวลาทวงถามหนี้ ควรทวงหนี้เวลาไหน จึงจะไม่ผิดกฎหมาย?
- วันจันทร์-ศุกร์ เวลาทวงหนี้ตั้งแต่ 08.00-20.00 น.
- วันเสาร์-อาทิตย์, วันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลาทวงหนี้ตั้งแต่ 08.00-18.00 น.
หมายเหตุ : หากเจ้าหนี้ฝ่าฝืนเวลาทวงหนี้ มีโทษปรับ 100,000 บาท และต้องทวงหนี้กับลูกหนี้เท่านั้น ห้ามไปทวงกับคนอื่น มิฉะนั้นจะมีจำคุก 1 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
7. การทวงหนี้แบบใด ที่ห้ามทำโดยเด็ดขาด?
- ห้ามพูดจาดูหมิ่น
- ห้ามประจาน
- ห้ามข่มขู่
- ห้ามใช้ความรุนแรง
- ห้ามทำร้ายร่างกาย
- ห้ามทำลายทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เกิดความเสียหาย
- ห้ามเปิดเผยเรื่องหนี้ของลูกหนี้ ต่อผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
- ห้ามส่งเอกสารเปิดผนึกทางไปรษณีย์ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน
8. หากทวงถามหนี้อย่างไม่เป็นธรรม มีโทษอย่างไร?
ถ้าทวงถามหนี้โดยไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฝ่ายลูกหนี้สามารถไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ และผู้ทวงถามหนี้จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1-5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000-500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎหมายทวงหนี้ เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก เพื่อที่เราจะได้ไม่ถูกทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่เราเป็นเจ้าหนี้เสียเอง ก็จะได้รู้รายละเอียดเวลาทวงหนี้และข้อห้ามต่างๆ ซึ่งเรื่องเหล่านี้นับเป็นกฎหมายพื้นฐานในชีวิตประจำวันที่เราควรรู้ไว้
อ้างอิงเนื้อหา และรูปภาพจาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2118900
กฎหมายทวงหนี้ใหม่ 2564 (อัปเดตล่าสุด) ต้องทวงหนี้อย่างไรจึงจะไม่ผิดกฎหมาย?
การทวงหนี้ ไม่ได้หมายถึงการทวงหนี้ระหว่างบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนี้อื่นๆ เช่น หนี้ธนาคาร หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนชำระรถยนต์ เงินกู้ ฯลฯ แม้กระทั่งการพนันก็ถือว่าเป็นหนี้รูปแบบหนึ่ง บ่อยครั้งที่เรามักเห็นข่าวการทวงหนี้ด้วยวิธีที่รุนแรงและไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่เราต้องการจะทวงหนี้ผู้อื่น และผู้อื่นจะมาทวงหนี้เรา จริงๆ แล้วจำเป็นต้องดำเนินไปตามหลักของกฎหมายทวงหนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย โดยมีรายละเอียดต่างๆ ที่ควรรู้ไว้ ดังนี้
1. ความหมายของ ลูกหนี้ และ ผู้ทวงถามหนี้
- ลูกหนี้ คือ ลูกหนี้ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย
- ผู้ทวงถามหนี้ คือ เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม
หมายเหตุ : ผู้ทวงถามหนี้ หรือเจ้าหนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นตัวแทนของนิติบุคคล ในนามของบริษัทสินเชื่อ, ประกัน, ธนาคาร และอื่นๆ ได้
2. ยืมเงินจำนวนเท่าไร จึงจะต้องทำหนังสือกู้ยืมเงิน?
ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป สามารถทำหนังสือสัญญากู้ยืมได้ โดยจะต้องมีการลงลายมือชื่อทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งหากผิดสัญญาชำระหนี้ ก็สามารถนำไปฟ้องร้องได้
3. ยืมเงินผ่านแชต ใช้เป็นหลักฐานฟ้องได้ไหม?
การทักขอยืมเงินผ่านแชต หรือแชตไลน์ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องได้ แม้จะไม่ได้มีการทำหนังสือกู้ยืมเงิน เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม
4. โทรศัพท์ไปทวงหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย ถือเป็นการทวงหนี้แล้วหรือยัง?
- หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย หรือกดวางสายก่อนจะมีการพูดคุย = ไม่นับเป็นการทวงหนี้
- หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ ลูกหนี้รับสาย แต่พูดคุยเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องการทวงหนี้ = ไม่นับเป็นการทวงหนี้
- หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท แต่ลูกหนี้ยังไม่เปิดอ่าน = ไม่นับเป็นการทวงหนี้
- หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท ลูกหนี้เปิดอ่านข้อความ แต่ไม่ตอบ = ถือเป็นการทวงหนี้แล้ว
5. ทวงหนี้ได้วันละกี่ครั้ง?
กฎหมายทวงหนี้ใหม่กำหนดให้เจ้าหนี้ สามารถทวงหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง หากฝ่าฝืนจะมีความผิด โดนโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แต่ในกรณีที่เพื่อนยืมเงินเพื่อน ทวงเกินวันละ 1 ครั้ง ถือว่าไม่ผิด
6. เวลาทวงถามหนี้ ควรทวงหนี้เวลาไหน จึงจะไม่ผิดกฎหมาย?
- วันจันทร์-ศุกร์ เวลาทวงหนี้ตั้งแต่ 08.00-20.00 น.
- วันเสาร์-อาทิตย์, วันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลาทวงหนี้ตั้งแต่ 08.00-18.00 น.
หมายเหตุ : หากเจ้าหนี้ฝ่าฝืนเวลาทวงหนี้ มีโทษปรับ 100,000 บาท และต้องทวงหนี้กับลูกหนี้เท่านั้น ห้ามไปทวงกับคนอื่น มิฉะนั้นจะมีจำคุก 1 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
7. การทวงหนี้แบบใด ที่ห้ามทำโดยเด็ดขาด?
- ห้ามพูดจาดูหมิ่น
- ห้ามประจาน
- ห้ามข่มขู่
- ห้ามใช้ความรุนแรง
- ห้ามทำร้ายร่างกาย
- ห้ามทำลายทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เกิดความเสียหาย
- ห้ามเปิดเผยเรื่องหนี้ของลูกหนี้ ต่อผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
- ห้ามส่งเอกสารเปิดผนึกทางไปรษณีย์ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน
8. หากทวงถามหนี้อย่างไม่เป็นธรรม มีโทษอย่างไร?
ถ้าทวงถามหนี้โดยไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฝ่ายลูกหนี้สามารถไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ และผู้ทวงถามหนี้จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1-5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000-500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎหมายทวงหนี้ เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก เพื่อที่เราจะได้ไม่ถูกทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่เราเป็นเจ้าหนี้เสียเอง ก็จะได้รู้รายละเอียดเวลาทวงหนี้และข้อห้ามต่างๆ ซึ่งเรื่องเหล่านี้นับเป็นกฎหมายพื้นฐานในชีวิตประจำวันที่เราควรรู้ไว้
อ้างอิงเนื้อหา และรูปภาพจาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2118900